วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง
“โคกสูงตำบลน่าอยู่ มุ่งสู่สังคมเกษตรอินทรีย์ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
มีหลักธรรมาภิบาล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเพรียงเข้าสู่ยุค 4.0”
พันธกิจหลักการพัฒนา
1. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และระบบคมนาคมขนส่ง ให้ได้มาตรฐานและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนตามศักยภาพของ อบต. ควบคู่กับการวางผังเมืองที่ดี
2. สร้างระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สมดุลและยั่งยืน โดยเน้นการเกษตรกรรมให้เป็นตลาดผลผลิตทางการเกษตร บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง
4. พัฒนาประสิทธิภาพบุคลากรในท้องถิ่น
5. ฟื้นฟู อนุรักษ์ ส่งเสริม มรดกทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นและเป็นที่สนใจและดึงดูดนักท่องเที่ยว
6. พัฒนาและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านการเมือง การบริหาร และการปกครองให้กับประชาชน สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างภาครัฐกับประชาชนในรูปแบบต่างๆ และสร้างระบบบริหารจัดการภาครัฐที่ดีใน อบต.
7. สร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้
8. เชื่อมโยงการทำงานให้เข้าสู่ระบบสารสนเทศ และก้าวทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
1. เพื่อให้ประชาชนมีระบบโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งพอเพียงและทั่วถึง
2. เพื่อให้มีแหล่งน้ำ อุปโภค บริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอ
3. เพื่อให้ประชาชน มีอาชีพ มีรายได้และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
4. เพื่อให้บุคลากรท้องถิ่น มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
5. ประชาชนตระหนักถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
6. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีอย่างมีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล
7. เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คงความอุดมสมบูรณ์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง(พ.ศ. 2556 – 2560)
1 ยุทธศาสตร์ด้านเมืองน่าอยู่ ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน และการผังเมือง
2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ
3. แนวทางการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. แนวทางการรักษาความสงบ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
6. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรป่าไม้
7. แนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
2 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการบริหารบ้านเมืองที่ดี ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมสวัสดิการชุมชน
2. แนวทางการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
3. แนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
4. แนวทางการควบคุมและป้องกันโรคระบาด
5. แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร
6. แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
7. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการเมือง การปกครอง
3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการศึกษา การกีฬา นันทนาการและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาและการขยายโอกาสทางการศึกษาให้เพียงพอ
2. แนวทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น
3. แนวทางการส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
4. แนวทางการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. แนวทางการเพิ่มโอกาสการรับรู้ข่าวสารให้แก่ประชาชน
4 ยุทธศาสตร์ด้านพัฒนาอาชีพ และส่งเสริมการเกษตร ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. แนวทางการส่งเสริมการประกอบอาชีพและสร้างรายได้
2. แนวทางการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร
3. แนวทางการส่งเสริมปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียง
4. แนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในชุมชน
นโยบายการพัฒนาของคณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง
จากสภาพปัญหาพื้นที่และความต้องการของพี่น้องประชาชน ให้ได้รับการแก้ไขปัญหาและความต้องการ เพื่อประโยชน์สุขของพี่น้องประชาชนชาวตำบลโคกสูง และเพื่อที่จะพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูง จึงได้กำหนดนโยบายการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสูงในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 ก่อสร้างและบำรุงรักษาเส้นทางการคมนาคมให้อยู่ในสภาพดี และขยายผิวจราจร ให้ได้มาตรฐาน
1.2 ก่อสร้างไฟฟ้าสาธารณะและขยายเขตไฟฟ้า เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ในการสัญจร ขนถ่ายสินค้า การท่องเที่ยว
1.3 พัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ให้มีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
1.4 พัฒนาจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มเติม เพื่อให้ใช้ในกิจการประปา ให้เพียงพอ สะอาด สะดวก และขยายเขตประปาให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้น้ำประปา
1.5 จัดทำป้ายจราจร ป้ายประชาสัมพันธ์ ป้ายถนน สัญญาณไฟจราจร ป้ายซอยต่างๆ
2. ด้านอาชีพ
2.1 พัฒนาและปรับปรุงส่งเสริมอาชีพของชุมชนทุกส่วน
2.2 สนับสนุนการเรียนรู้ของชุมชน แหล่งเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
2.3 ส่งเสริมการจัดทำไร่นาสวนผสมเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน
2.4 ส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์
2.5 ส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
2.6 สนับสนุนการพัฒนาการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ แทนการใช้ปุ๋ยเคมี
2.7 สนับสนุนการลดรายจ่ายในการทำการเกษตรสนับสนุนการไถกลบฟางและใช้แรงงานสัตว์ และขยายพันธุ์สัตว์
2.8 สนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพต่างๆให้มีความเข้มแข็ง
3. ด้านการศึกษา กีฬา ศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
3.1 สนับสนุนการศึกษาในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของเด็กให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
3.2 ส่งเสริมสนับสนุนเยาวชนให้ความสนใจทางด้านกีฬา จัดการแข่งขันกีฬาเยาวชน ประชาชน ให้มีความสามารถในการกีฬาและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
3.3 พัฒนาส่งเสริมกิจกรรมของเยาวชน เพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ
3.4 สนับสนุนเยาวชนต้นแบบ เป็นแบบอย่างของสังคมทางด้านการศึกษา กีฬาและวัฒนธรรม
3.5 ส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เอกลักษณ์ท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ โดยทุกภาคส่วนในชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วม (หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งประเพณี)
3.6 ส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้เด็กที่เข้าเรียนมีประสิทธิภาพทุกๆ ด้าน สามารถศึกษาต่อสถานศึกษาอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ระบบเทคโนโลยีการเรียนการสอน สร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง และสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร
4. ด้านสวัสดิการและสังคม
4.1 ส่งเสริมช่วยเหลือและพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะครอบครัวที่ประสบปัญหา เด็กกำพร้า อนาถา ผู้พิการ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เด็กด้อยโอกาส สนับสนุนกิจกรรมของเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเอดส์
4.2 จัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนหรือกองทุนสัจจะออมวันละบาท เพื่อให้เกิดประโยชน์
(เกิด=สวัสดิการแม่และเด็ก),(แก่=สวัสดิการนอกเหนือจากเบี้ยยังชีพ),(เจ็บ=สวัสดิการยามเจ็บป่วย),(ตาย=สวัสดิการฌาปนกิจศพ)
4.3 ส่งเสริมด้านสวัสดิการและการสร้างขวัญกำลังใจให้กับ อปพร.อสม. เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.4 ส่งเสริมอบรมหน่วยกู้ชีพคอยช่วยเหลือ และ อ.ส.ม. ในชุมชน ให้รู้บทบาทหน้าที่มากยิ่งขึ้น และคอยดูแลสุขภาพประชาชนในชุมชน
4.5 ส่งเสริมสนับสนุนชมรมผู้สูงอายุ และกลุ่มสตรี โดยเน้นการมีกิจกรรมร่วม
5. ด้านส่งเสริมสุขภาพ,บรรเทาสาธารณภัย,ยาเสพติดภายในชุมชน
5.1 สนับสนุนโครงการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของทางราชการ ประสานงานขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการให้ความรู้แนวทางการป้องกัน วิธีแก้ไขปัญหาเยาวชนและกลุ่มเสี่ยง
5.2 รณรงค์ต่อต้านยาเสพติดทุกชนิด ให้ชุมชนเข้มแข็ง โดยการมีส่วนร่วมของ ประชาสัมพันธ์อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด
5.3 ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนอาสาเพื่อรักษาความสงบและช่วยเหลือประชาชนในชุมชน
5.4 กำกับดูแลการรักษาความสะอาด การจำกัดขยะมูลฝอยบริเวณถนนหนทาง ที่อยู่อาศัย ที่สาธารณะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
5.5 ส่งเสริมสนับสนุนสถานที่ออกกำลังกายตามชุมชน และสถานที่พักผ่อนในชุมชน
5.6 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแก่ประชนในท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยที่เกิดขึ้น
5.7 ป้องกันช่วยเหลือ ผู้ประสบเหตุ หรือได้รับความเดือดร้อน จากภัยธรรมชาติและอัคคีภัย
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••
|